เป้าหมาย (Understanding Goal) : เพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจความแตกต่างแต่ละประเทศทั่วโลก รวมทั้งเคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมโลกได้

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

Week
              Input
Process
Output
Outcome







3


25-29 ม.ค. 59

โจทย์
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
Key  Questions
- ประเทศสิงค์โปรอยู่ตำแหน่งไหนของแผนที่โลก โดยให้นักเรียนออกมาชี้ระบุตำแหน่ง
- ทำไมต้องมีการแบ่งพื้นที่โลกเป็นทวีปต่างๆ
- ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน
- นักเรียนคิดว่าภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ของประเทศที่ตนเองได้รับเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show  and Share
นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
Wall thinking
- ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องA3 ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษ A3
- แผนที่ / โมเดลลูกโลก
- อินเตอร์เน็ต
- เกมอยู่ไหนกันนะ
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูโมเดลลูกโลกและร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม อยู่ไหนกันนะ ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับ การค้นหาตำแหน่งประเทศบนแผนที่โลก จากฉลากที่จับได้ อาทิเช่น กัวเตมาลา เฮติ อินโดนีเซีย ฯลฯ

- ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศสิงค์โปร
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ประเทศสิงค์โปรอยู่ตำแหน่งไหนของแผนที่โลก โดยให้นักเรียนออกมาชี้ระบุตำแหน่ง /“ทำไมต้องมีการแบ่งพื้นที่โลกเป็นทวีปต่างๆ” / “ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- พุธ
ชง : ครูให้นักเรียนจับฉลากเลือกประเทศ เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้
เอเชีย (อินเดีย, เนปาล, อิสลาเอล)
ยุโรป (ฝรั่งเศส, โปรตุเกส, สาธารณรัฐเช็ก, รัสเชีย, ไอซ์แลนด์ )
แอฟริกา (โมร็อกโค, อียิปต์)
โอเชียเนีย (ฟิจิ, นิวซีแลนด์)
อเมริกาใต้ (ชิลี, อาร์เจนตินา, เปรู)
อเมริกาเหนือ (กรีนแลนด์, คิวบา)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ของประเทศที่ตนเองได้รับเป็นอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเรียนรู้
ศุกร์
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ(Model, เพลง, ชาร์ต, รายงาน, การ์ตูนช่อง, power point ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์รูปแบบลักษณะของประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโมเดลลูกโลก
- เล่นเกม อยู่ไหนกันนะ
- จับฉลากเลือกประเทศและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ
- ออกแบบชิ้นงานและนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น
- การอภิปรายร่วมกันกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- ชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้
 ทักษะ
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันทำงาน
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาสร้างชิ้นงาน
- ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเองและของผู้อื่น
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- การอธิบายตำแหน่งและสถานที่ตั้งของประเทศที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรม
          ในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากที่นักเรียนได้ร่วมกันวางแผนและออกแบบกิจกรรมทั้งสอง PBL เรียบร้อยแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ส่วนของหน่วยท่องเที่ยวรอบโลก ครูได้สร้างแรงบันดาลใจโดยให้นักเรียนดูClip VDO 











ที่มีการดำเนินรายการในรูปแบบที่หลากหลาย สารคดี รายการบันเทิงที่นำเสนอสาระดีๆ ได้อย่างครบถ้วน
_เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงการนำเสนอข้อมูลที่สามารถสนุกสนานและสร้างความบันเทิง โดยจะไม่หลุดออกจากประเด็นที่วางแผนกันไว้ ซึ่งนักเรียนแต่ละคนให้ความสนใจในการดูเป็นอย่างมาก หลายคนเคยดูในบางหลายการแล้ว ครูจึงแนะนำให้ดูที่รูปแบบ วิธีการ รวมถึงการดำเนินรายการของพิธีกรแต่ละรายการ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การสรุปเนื้อหารายสัปดาห์ในQuarter นี้ ในรูปแบบ Clip VDO สั้นๆ ไม่เกิน 6 นาที
     จากนั้นครูจึงให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะต้องวางแผนการถ่ายทำตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาตัดต่อเพื่อขมวดเนื้อหาที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ ทั้งนี้แต่ละกลุ่มจะต้องวางแผนและประสานงานร่วมกับครูผู้สอนแต่ละวิชาด้วย ซึ่งในสัปดาห์นี้กลุ่มแรกที่จะสรุปสัปดาห์ในรูปแบบClip VDO คือกลุ่มพี่เพลง พี่นัท พี่บีท ได้มีการถ่ายทำไปแล้วบางส่วน อีกทั้งได้ให้นักเรียนแต่ละคนรวมทั้งครูป้อมและครูผักกาด จับฉลากเลือกประเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ มานำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและสร้างชิ้นงาน
  ในส่วนของการนำเสนอข้อมูลที่แต่ละคนได้สืบค้นมา ทั้งสอง PBL ทำให้นักเรียนเรียนรู้และตั้งคำถามจากข้อมูลที่ได้หามา

     อาทิเช่น
พี่อังอัง : ทำไมบางข้อมูลประเทศกรีนแลนด์ก็อยู่ในทวีปยุโรปและบางข้อมูลบอกว่าเป็นทวีปอื่น?”
พี่เพลงถามว่า ทำไมประเทศสาธารณรัฐเช็ก จึงต้องมีคำว่า สาธารณรัฐ?”
ทำให้เกิดการร่วมกันคาดเดาคำตอบ พี่บอลตอบว่า อาจจะเป็นเพราะชื่อประเทศมีพยางค์เดียว เหมือนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 พี่เพชรตอบว่า เป็นเพราะการปกครองของประเทศฯลฯ
ก่อนที่พี่ๆ ม.1 จะได้ไปดูแลพืชผัก / ข้าวในแปลงนา ถอนหญ้า เติมน้ำลงในแปลงนา  และทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาพชิ้นงาน                          




1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 3 หลังจากที่นักเรียนได้ร่วมกันวางแผนและออกแบบกิจกรรมทั้งสอง PBL เรียบร้อยแล้วในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ส่วนของหน่วยท่องเที่ยวรอบโลก ครูได้สร้างแรงบันดาลใจโดยให้นักเรียนดูClip VDO ที่มีการดำเนินรายการในรูปแบบที่หลากหลาย สารคดี รายการบันเทิงที่นำเสนอสาระดีๆ ได้อย่างครบถ้วน
    _เพื่อให้นักเรียนได้เห็นถึงการนำเสนอข้อมูลที่สามารถสนุกสนานและสร้างความบันเทิง โดยจะไม่หลุดออกจากประเด็นที่วางแผนกันไว้ ซึ่งนักเรียนแต่ละคนให้ความสนใจในการดูเป็นอย่างมาก หลายคนเคยดูในบางหลายการแล้ว ครูจึงแนะนำให้ดูที่รูปแบบ วิธีการ รวมถึงการดำเนินรายการของพิธีกรแต่ละรายการ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การสรุปเนื้อหารายสัปดาห์ในQuarter นี้ ในรูปแบบ Clip VDO สั้นๆ ไม่เกิน 6 นาที
    จากนั้นครูจึงให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะต้องวางแผนการถ่ายทำตลอดทั้งสัปดาห์และนำมาตัดต่อเพื่อขมวดเนื้อหาที่ได้เรียนรู้รายสัปดาห์ ทั้งนี้แต่ละกลุ่มจะต้องวางแผนและประสานงานร่วมกับครูผู้สอนแต่ละวิชาด้วย ซึ่งในสัปดาห์นี้กลุ่มแรกที่จะสรุปสัปดาห์ในรูปแบบClip VDO คือกลุ่มพี่เพลง พี่นัท พี่บีท ได้มีการถ่ายทำไปแล้วบางส่วน อีกทั้งได้ให้นักเรียนแต่ละคนรวมทั้งครูป้อมและครูผักกาด จับฉลากเลือกประเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆ มานำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันและสร้างชิ้นงาน
    ในส่วนของการนำเสนอข้อมูลที่แต่ละคนได้สืบค้นมา ทั้งสอง PBL ทำให้นักเรียนเรียนรู้และตั้งคำถามจากข้อมูลที่ได้หามา
    อาทิเช่น
    พี่อังอัง : “ทำไมบางข้อมูลประเทศกรีนแลนด์ก็อยู่ในทวีปยุโรปและบางข้อมูลบอกว่าเป็นทวีปอื่น?”
    พี่เพลงถามว่า “ทำไมประเทศสาธารณรัฐเช็ก จึงต้องมีคำว่า สาธารณรัฐ?”
    ทำให้เกิดการร่วมกันคาดเดาคำตอบ พี่บอลตอบว่า “อาจจะเป็นเพราะชื่อประเทศมีพยางค์เดียว เหมือนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”
    พี่เพชรตอบว่า “เป็นเพราะการปกครองของประเทศ” ฯลฯ
    ก่อนที่พี่ๆ ม.1 จะได้ไปดูแลพืชผัก / ข้าวในแปลงนา ถอนหญ้า เติมน้ำลงในแปลงนา และทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    (ครูผักกาด :ผู้บันทึก)

    ตอบลบ