เป้าหมาย (Understanding Goal) : เพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจความแตกต่างแต่ละประเทศทั่วโลก รวมทั้งเคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมโลกได้

Week6

 เป้าหมายรายสัปดาห์ :  เข้าใจและอธิบายการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ รวมถึงที่มาและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา, ภาษา) และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
Week
              Input
Process
Output
Outcome





6

15-19 ก.พ. 59

โจทย์
- การเมืองการปกครอง
- ประชากร (การศึกษา, ศาสนา, ภาษา)

Key  Question
นักเรียนคิดว่าการเมืองการปกครองที่ประเทศที่ตนเองศึกษามีการปกครองอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show  and Share
- นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ
- นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับระบอบการปกครองและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา, ภาษา) แต่ละประเทศ
Wall thinking
- ติดชิ้นงานชิ้นงานเกี่ยวกับระบอบการปกครองและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา, ภาษา) แต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษชาร์ต
- แผนที่
- อินเตอร์เน็ต

จันทร์
ชง : ครูเล่าเรื่องการปกครองของประเทศซีแลนด์ ให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ฟัง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าการเมืองการปกครองที่ประเทศที่ตนเองศึกษามีการปกครองอย่างไร
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูล
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ(Model, เพลง, ชาร์ต, รายงาน, การ์ตูนช่อง, power point ฯลฯ)
พุธ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
ศุกร์
ชง : ครูเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายของประเทศสิงค์โปร (หมากฝรั่งกับรถไฟฟ้า)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร นักเรียนคิดว่าอะไรคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลทางการเมือง และการปกครองของแต่ละประเทศ
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นและนำเสนอข้อมูล
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องเล่า ประเทศซีแลนด์
- สืบค้นและนำเสนอข้อมูลการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ
- วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของแต่ละประเทศ
- สืบค้นและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของแต่ละประเทศ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจการเมืองการปกครอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
เข้าใจและอธิบายการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ รวมถึงที่มาและจำนวนประชากร (การศึกษา, ศาสนา, ภาษา) และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้
 ทักษะ
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกันทำงานร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละประเทศร่วมกัน
ทักษะสื่อสาร
สามารสื่อสารและร่วมวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลระบอบการปกครองและจำนวนประชากร ของแต่ละประเทศ
- ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศกับระบอบการปกครอง
 ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลและสร้างสรรค์ชิ้นงานจากสื่อเกี่ยวกับระบอบการปกครองและจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับระบอบการปกครองและจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ
- การอธิบายตำแหน่งและสถานที่ตั้งของประเทศที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับระบอบการปกครองและจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรม

        นักเรียนได้นำเสนอความคืบหน้าของตนเอง ในชิ้นงานกระดาษบลู๊ฟ(ประวัติศาสตร์) เพื่อนๆแต่ละคนช่วยกันจดบันทึกและขมวดความเข้าใจ ก่อนที่คุณครูให้เด็กๆ ทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้ “ประวัติศาสตร์” เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจของผู้เรียน

ในกลุ่มที่ถ่ายทำสัปดาห์นี้ ก็คือ พี่ติ, พี่มายด์, พี่คอป ทุกคนร่วมBAR /AAR ทุกวัน เพื่อรัเช็คความเข้าใจ

_ครูให้ทุกคนดูคลิปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบโลก ภาษา/วัฒนธรรม/ความเชื่อ/ค่าเงิน ฯลฯ โดยให้ผู้เรียนได้เห็นในแต่ละมิติที่หลากหลายและนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันและกัน
ครูช่วยอำนวยกระตุ้นด้วยคำถามเสมอระหว่างดู “เห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร?” ความแตกต่างแต่ละที่ ให้นักเรียนแต่ละคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
       เหมือนที่วางแผนการสอนไว้ว่า ในวันที่ 27 ก.พ. พี่ๆ ม.1 จะได้เดินทางไปท่องเที่ยว โดยครูแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม (โดยวิธีจับฉลาก) ได้สมาชิกแต่ละกลุ่ม ดังนี้
...
กลุ่มที่ 1 : ออสติน, อังๆ, บอล, มายด์, เพลง
กลุ่มที่ 2 : บีท, ติ, คอป, เพชร, โจเซฟ, ปุณ
กลุ่มที่ 3 : นัท, ไอดิน, มิ้ลค์, ซินดี้, กระต่าย, ปังปอนด์
.......
ซึ่งสมาชิกแต่ละกลุ่ม ได้เก็บสะสมเงินมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.  วันละ 10 บาท เพื่อนำมาฝากคุณครู




 ส่วนกิจกรรมคู่ขนาน นักเรียนได้ร่วมกันดูแลใส่ปุ๋ย / รดน้ำ เป็นประจำสม่ำเสมอ
ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์และบันทึกข้าว


ภาพชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนได้นำเสนอความคืบหน้าของตนเอง ในชิ้นงานกระดาษบลู๊ฟ(ประวัติศาสตร์) เพื่อนๆแต่ละคนช่วยกันจดบันทึกและขมวดความเข้าใจ ก่อนที่คุณครูให้เด็กๆ ทุกคนเขียนสรุปการเรียนรู้ “ประวัติศาสตร์” เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจของผู้เรียน

    ในกลุ่มที่ถ่ายทำสัปดาห์นี้ ก็คือ พี่ติ, พี่มายด์, พี่คอป ทุกคนร่วมBAR /AAR ทุกวัน เพื่อรัเช็คความเข้าใจ

    _ครูให้ทุกคนดูคลิปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบโลก ภาษา/วัฒนธรรม/ความเชื่อ/ค่าเงิน ฯลฯ โดยให้ผู้เรียนได้เห็นในแต่ละมิติที่หลากหลายและนำองค์ความรู้มาเชื่อมโยงกันและกัน
    ครูช่วยอำนวยกระตุ้นด้วยคำถามเสมอระหว่างดู “เห็นอะไร/รู้สึกอย่างไร?” ความแตกต่างแต่ละที่ ให้นักเรียนแต่ละคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
    เหมือนที่วางแผนการสอนไว้ว่า ในวันที่ 27 ก.พ. พี่ๆ ม.1 จะได้เดินทางไปท่องเที่ยว โดยครูแบ่งผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม (โดยวิธีจับฉลาก) ได้สมาชิกแต่ละกลุ่ม ดังนี้
    ...
    กลุ่มที่ 1 : ออสติน, อังๆ, บอล, มายด์, เพลง
    กลุ่มที่ 2 : บีท, ติ, คอป, เพชร, โจเซฟ, ปุณ
    กลุ่มที่ 3 : นัท, ไอดิน, มิ้ลค์, ซินดี้, กระต่าย, ปังปอนด์
    .......
    ซึ่งสมาชิกแต่ละกลุ่ม ได้เก็บสะสมเงินมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. วันละ 10 บาท เพื่อนำมาฝากคุณครู

    ส่วนกิจกรรมคู่ขนาน นักเรียนได้ร่วมกันดูแลใส่ปุ๋ย / รดน้ำ เป็นประจำสม่ำเสมอ
    ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะร่วมกันสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์และบันทึกข้าว

    ตอบลบ