เป้าหมาย (Understanding Goal) : เพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจความแตกต่างแต่ละประเทศทั่วโลก รวมทั้งเคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมโลกได้

Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4

Week
              Input
Process
Output
Outcome








4

1-5 ก.พ. 59

โจทย์
ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
Key  Questions
- ประเทศสิงค์โปรอยู่ตำแหน่งไหนของแผนที่โลก โดยให้นักเรียนออกมาชี้ระบุตำแหน่ง
- ทำไมต้องมีการแบ่งพื้นที่โลกเป็นทวีปต่างๆ
- ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน
- นักเรียนคิดว่าภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ของประเทศที่ตนเองได้รับเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show  and Share
นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
Wall thinking
- ติดชิ้นงานการ์ตูนช่องA3 ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษ A3
- แผนที่ / โมเดลลูกโลก
- อินเตอร์เน็ต
- เกมอยู่ไหนกันนะ
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูโมเดลลูกโลกและร่วมพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม อยู่ไหนกันนะ ซึ่งเป็นเกมเกี่ยวกับ การค้นหาตำแหน่งประเทศบนแผนที่โลก จากฉลากที่จับได้ อาทิเช่น กัวเตมาลา เฮติ อินโดนีเซีย ฯลฯ

- ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศสิงค์โปร
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดประเทศสิงค์โปรอยู่ตำแหน่งไหนของแผนที่โลก โดยให้นักเรียนออกมาชี้ระบุตำแหน่ง /“ทำไมต้องมีการแบ่งพื้นที่โลกเป็นทวีปต่างๆ” / “ทำไมลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
- พุธ
ชง : ครูให้นักเรียนจับฉลากเลือกประเทศ เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้
เอเชีย (อินเดียเนปาลอิสลาเอล)
ยุโรป (ฝรั่งเศสโปรตุเกสสาธารณรัฐเช็กรัสเชียไอซ์แลนด์ )
แอฟริกา (โมร็อกโคอียิปต์)
โอเชียเนีย (ฟิจินิวซีแลนด์)
อเมริกาใต้ (ชิลีอาร์เจนตินาเปรู)
อเมริกาเหนือ (กรีนแลนด์คิวบา)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ของประเทศที่ตนเองได้รับเป็นอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเรียนรู้
ศุกร์
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ(Model, เพลงชาร์ตรายงานการ์ตูนช่อง, power point ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน
- ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์รูปแบบลักษณะของประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโมเดลลูกโลก
- เล่นเกม อยู่ไหนกันนะ
- จับฉลากเลือกประเทศและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ
- ออกแบบชิ้นงานและนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้น
- การอภิปรายร่วมกันกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- ชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ ที่ต้องเรียนรู้ให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้
 ทักษะ
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันทำงาน
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาสร้างชิ้นงาน
- ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเองและของผู้อื่น
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- การอธิบายตำแหน่งและสถานที่ตั้งของประเทศที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรม
   ในสัปดาห์ที่ 4 กิจกรรมการเรียนรู้PBL ในโจทย์ของสัปดาห์นี้ก็คือ ภูมิศาสตร์/ประวัติศาสตร์ ของแต่ละประเทศที่จับฉลากได้แต่ตอนแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนกลุ่มพี่นัท พี่เพลง และพี่บีท ก็ได้ดำเนินการตัดต่อคลิปVDO(กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดสัปดาห์) สำเร็จไปกว่า 80% แล้ว เพื่อนและคุณครูได้แนะนำส่วนต่างๆ ของคลิปส่วนที่ยังขาดต้องปรับแก้



      เหมือนที่ทราบมา ในQuarter นี้ พี่ๆ ม.1 เรียน 2 PBL ในส่วนของเนื้อหา ดังกล่าว นักเรียนกลุ่มสร้างสรรค์การเรียนรู้ผ่านรายการก็มี เวลาเรียนต้องหาร2 ในส่วนของเนื้อหานักเรียนได้จักกระทำข้อมูลของประเทศตนเองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 17 ประเทศ ลงในกระดาษบลู๊ฟ ตอนนี้หลายคนจัดกระทำลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลายคนได้นำเสนอความคืบหน้าของแต่ละคนบางส่วนแล้วต่อคุณครู
_หลายคนมองเห็นเรื่องราวต่างๆ ที่น่าทึ่งเกี่ยวกับประเทศตนเองศึกษาอยู่ บางกรณีเด็กๆ สืบค้นต่อให้แหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาพูดคุยเล่าสู่กันฟัง 
ส่วนของทีมถ่ายทำ ได้แก่ พี่เพชร พี่ปุณ และพี่ออสติน ได้พูดคุยวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครูทุกวัน BARคุยก่อนสอนในวันถัดไป และแต่ละวันครูจะร่วมพูดคุยเกี่ยวกับงานถ่ายทำ / การตัดต่อAAR

ส่วนกิจกรรมคู่ขนานเด็กๆ ช่วยกันรดน้ำ / ใส่ปุ๋ย / พรวนติดสม่ำเสมอ

      เนื่องจากวันศุกร์มีกิจกรรมเดินออกจากความคิด(เดินทางไกล) นักเรียนจึงได้ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน

ภาพชิ้นงาน       




1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 4 กิจกรรมการเรียนรู้PBL ในโจทย์ของสัปดาห์นี้ก็คือ ภูมิศาสตร์/ประวัติศาสตร์ ของแต่ละประเทศที่จับฉลากได้แต่ตอนแรกของสัปดาห์ที่ผ่านมา นักเรียนกลุ่มพี่นัท พี่เพลง และพี่บีท ก็ได้ดำเนินการตัดต่อคลิปVDO(กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดสัปดาห์) สำเร็จไปกว่า 80% แล้ว เพื่อนและคุณครูได้แนะนำส่วนต่างๆ ของคลิปส่วนที่ยังขาดต้องปรับแก้
    เหมือนที่ทราบมา ในQuarter นี้ พี่ๆ ม.1 เรียน 2 PBL ในส่วนของเนื้อหา ดังกล่าว นักเรียนกลุ่มสร้างสรรค์การเรียนรู้ผ่านรายการก็มี เวลาเรียนต้องหาร2 ในส่วนของเนื้อหานักเรียนได้จักกระทำข้อมูลของประเทศตนเองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว 17 ประเทศ ลงในกระดาษบลู๊ฟ ตอนนี้หลายคนจัดกระทำลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลายคนได้นำเสนอความคืบหน้าของแต่ละคนบางส่วนแล้วต่อคุณครู
    _หลายคนมองเห็นเรื่องราวต่างๆ ที่น่าทึ่งเกี่ยวกับประเทศตนเองศึกษาอยู่ บางกรณีเด็กๆ สืบค้นต่อให้แหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาพูดคุยเล่าสู่กันฟัง
    ส่วนของทีมถ่ายทำ ได้แก่ พี่เพชร พี่ปุณ และพี่ออสติน ได้พูดคุยวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับครูทุกวัน BARคุยก่อนสอนในวันถัดไป และแต่ละวันครูจะร่วมพูดคุยเกี่ยวกับงานถ่ายทำ / การตัดต่อAAR

    ส่วนกิจกรรมคู่ขนานเด็กๆ ช่วยกันรดน้ำ / ใส่ปุ๋ย / พรวนติดสม่ำเสมอ
    เนื่องจากวันศุกร์มีกิจกรรมเดินออกจากความคิด(เดินทางไกล) นักเรียนจึงได้ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน

    ตอบลบ